คำอธิบาย
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เม็ดทานตะวันอบเนย (ชนิดห่อ)
เมล็ดดอกทานตะวันจัดเป็นอาหารสุขภาพชั้นดี มีวิตามินอี และกรดไขมันไลโนเลอิค (linoleic acid) ซึ่งมีประโยชน์มากในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคมะเร็ง มีวิตามินอีช่วยป้องกันหัวใจวาย วิตามินอียังเป็นแอนตี้ออกซิแดนท์ที่ช่วยป้องกันมะเร็ง และโรคต้อกระจก กรดไลโนเลอิคช่วยลดระดับทั้งคอเลสเตอรอลรวม และคอเลสเตอรอลร้าย (LDL) อันเป็นสาเหตุของหลอดเลือดหัวใจตีบ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการแข็งตัวของเกล็ดเลือดอีกด้วย
เมล็ดดอกทานตะวัน รับประทานวันละ 40 – 60 กรัม จะช่วยให้มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ในปริมาณที่มากพอ เมล็ดดอกทานตะวันในปริมาณ 28 กรัม (2 ช้อนโต๊ะ) ให้พลังงาน 163 แคลอรี กรดไลโนเลอิค 8 กรัม กรดไขมันชนิดอิ่มตัว 1 กรัม เส้นใย 6 กรัม วิตามินบี1 0.4 มิลลิกรัม และวิตามินอี 11 มิลลิกรัม
เมล็ดดอกทานตะวันไม่เพียงรับประทานเป็นของขบเคี้ยวเท่านั้น ยังปรุงเป็นอาหารจานอร่อยได้ อาจจะใส่ในสลัด ยำ ข้าวอบ ใช้คลุกเนื้อสัตว์แทนเกล็ดขนมปัง หรือทำขนมหวานก็ได้ เมนูจานสุขภาพจากเมล็ดดอกทานตะวันจึงมีมากมาย ทำให้กินเมล็ดดอกทานตะวันกันได้ไม่รู้เบื่อ
เมล็ดดอกทานตะวันมีขายหลายรูปแบบ ทั้งที่อบพอสุกใส่เกลือป่นเล็กน้อย มีรสมัน รสเค็มอ่อนๆ รับประทานเป็นของขบเคี้ยว และแบบเคลือบน้ำตาล รับประทานเป็นขนมหวาน อาหารที่ใส่เมล็ดดอกทานตะวันเป็นเครื่องปรุงนั้นต้องใช้เมล็ดดอกทานตะวัน แบบอบใส่เกลือ วิธีทำให้ได้กลิ่นรสของเมล็ดดอกทานตะวันนั้นต้องบุบพอแตกก่อน ที่สำคัญต้องใช้เวลาสั้นในการปรุง มิฉะนั้นสารที่มีประโยชน์จะเหลือน้อยลง
วิธีเลือกซื้อเมล็ดดอกทานตะวันต้องเลือกที่ใหม่ๆ และไม่เหม็นหืน สังเกตจากเปลือกหุ้มเมล็ดต้องมีสีเทา ไม่เป็นสีเหลืองหรือสีน้ำตาล ถ้ากินไม่หมดในครั้งเดียวต้องเก็บใส่ภาชนะมีฝาปิดสนิทอากาศเข้าไม่ได้ เมล็ดดอกทานตะวันจึงจะไม่มีกลิ่นเหม็นหืน หรือไม่ก็ชื้อมาในปริมาณน้อยใช้ในครั้งเดียวหมด
สรรพคุณ
- น้ำมันจากเมล็ดทานตะวัน มีรสร้อน สามารถช่วยลดระดับไขมันในเส้นเลือดได้ (น้ำมันจากเมล็ด)[1],[2],[4]
- ใบทานตะวันมีรสเฝื่อน สรรพคุณเป็นยาแก้เบาหวาน (ใบ)[2],[4]
- เมล็ดมีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต (เมล็ด)[3] หรือจะใช้แกนหรือไส้ของลำต้นทานตะวัน นำมาต้มกับน้ำดื่ม (แกนต้น)[2] หรือจะใช้ใบทานตะวันสด 60 กรัม (ถ้าใบแห้งใช้ 30 กรัม) และโถวงู่ฉิกสด 60 กรัม (ถ้าแห้งใช้ 30 กรัม) นำมาต้มเอาแต่น้ำดื่ม (ใบ)[4] ส่วนอีกวิธีเป็นการทดลองกับผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 10 คน ด้วยการใช้ฐานรองดอกแห้ง ประมาณ 45 กรัม นำมาบดให้ละเอียด แล้วทำเป็นยาน้ำเชื่อม 100 มิลลิลิตร นำมาให้ผู้ป่วยกินครั้งละ 20 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง พบว่าหลังจากการศึกษาแล้ว 60 วัน ความดันโลหิตของผู้ป่วยลดลง โดยมีอาการดีขึ้น 4 คน และมีอาการดีขึ้นเล็กน้อย 4 คน ส่วนอีก 2 คน ไม่มีอาการดีขึ้นเลย (ฐานรองดอก)[4]
- ช่วยทำให้อวัยวะภายในร่างกายชุ่มชื้น (เมล็ด)[3]
- ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ ตาลาย ด้วยการใช้ฐานรองดอกแห้งประมาณ 25-30 กรัม นำมาตุ๋นกับไข่ 1 ฟอง ใช้รับประทานหลังอาหารวันละ 2 ครั้ง (ดอก,ฐานรองดอก,ดอกและฝัก)[2],[3],[4]
- เปลือกเมล็ดมีรสเฝื่อน มีสรรพคุณช่วยแก้อาการหูอื้อ ด้วยการใช้เปลือกเมล็ดทานตะวันประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (เปลือกเมล็ด)[2],[4]
- ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้ดอกแห้ง 25 กรัม นำมาสูบเหมือนยาสูบ หรือจะใช้ฐานรองดอก 1 อัน และรากเกากี้ นำมาตุ๋นกับไข่รับประทาน (ดอก,ฐานรองดอก,ดอกและฝัก)[2],[3],[4]
- รากและลำต้นมีสรรพคุณเป็นยาขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ (รากและลำต้น)[3]
- ใช้เป็นยาแก้หวัด แก้อาการไอ แก้ไข้หวัด หากใช้แก้อาการไอให้ใช้เมล็ดนำมาคั่วให้เหลือง แล้วนำมาชงกับน้ำรับประทาน (เมล็ด,น้ำมันจากเมล็ด)[1],[2],[4] ส่วนรากและลำต้นก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอเช่นกัน (รากและลำต้น)[3]
- ช่วยแก้อาการร้อนใน (รากและลำต้น)[3]
- แกนหรือไส้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำดื่ม ช่วยแก้อาการไอกรนได้ หรือจะใช้แกนกลางของลำต้นนำมาโขลกให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาลทรายขาว แล้วนำมาชงด้วยน้ำร้อนรับประทาน (แกนต้น)[2],[4]
- ใบ รากและลำต้นมีสรรพคุณช่วยแก้หอบหืด (รากและลำต้น,ใบ)[2],[3],[4]
- ดอกมีเฝื่อน มีสรรพคุณเป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ (ดอก)[2],[4]
- เมล็ด น้ำมันจากเมล็ด รากและลำต้น มีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ ขจัดเสมหะ (รากและลำต้น,เมล็ด,น้ำมันจากเมล็ด)[1],[2],[3],[4]
- ช่วยรักษาเต้านมอักเสบ ด้วยการใช้ฐานรองดอกแห้ง นำมาหั่นเป็นฝอย แล้วนำไปคั่วให้เกรียม บดให้ละเอียด นำมาชงกับน้ำอุ่นหรือเหล้ารับประทานครั้งละ 10-15 กรัม วันละ 3 ครั้ง ซึ่งจากการใช้รักษาในผู้ป่วยจำนวน 122 คน พบว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น (ฐานของดอก)[3],[4]
- ช่วยรักษาฝีเต้านม (แกนต้น)[2]
- ดอกมีสรรพคุณช่วยขับลม (ดอก)[2],[4]
- รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการปวดท้องแน่นหน้าอก (ราก)[1],[4]
- รากและลำต้น ฐานรองดอก ดอกและฝักใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้อง (รากและลำต้น,ฐานรองดอก,ดอกและฝัก)[2],[3]
- ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะ (แกนต้น,ดอกและฝัก)[2],[3]
- ฐานรองดอกมีรสเฝื่อน มีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคกระเพาะอาหาร แก้อาการปวดท้องเนื่องจากโรคกระเพาะอักเสบ ด้วยการใช้ฐานรองดอก 1 อัน (หรือประมาณ 30-60 กรัม) และกระเพาะหมู 1 อัน แล้วใส่น้ำตาลทรายแดง 30 กรัม นำมาต้มกรองเอาแต่น้ำมารับประทาน (ฐานรองดอก)[2],[4]
- ช่วยแก้โรคบิด (เมล็ด,น้ำมันจากเมล็ด)[1],[2],[4] ช่วยแก้บิดถ่ายเป็นเลือด (ดอกและฝัก)[3]
- แกนหรือไส้ลำต้น นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร (แกนต้น)[2]
- ช่วยแก้อาการท้องผูกสำหรับผู้สูงอายุ (ดอกและฝัก)[3]
- รากใช้เป็นยาแก้ระบาย (ราก)[4]
- รากใช้เป็นยาขับพยาธิไส้เดือน ด้วยการใช้รากสด 30 กรัม เติมน้ำตาลทราบแดงเล็กน้อย นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)[1],[4]
- ราก แกนหรือไส้ลำต้น และน้ำมันจากเมล็ดใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (แกนต้น,ราก,น้ำมันจากเมล็ด)[1],[4]
- แกนหรือไส้ของลำต้น มีรสจืดเฝื่อน นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับนิ่วในไต นิ่วในทางเดินปัสสาวะ ช่วยขับปัสสาวะได้ดี แก้ปัสสาวะขุ่นขาว แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด ด้วยการใช้แกนกลางของลำต้นยาวประมาณ 60 เซนติเมตร หรือประมาณ 15 กรัม และรากต้นจุ้ยขึ่งฉาวราว 60 กรัม นำมาต้มคั้นเอาแต่น้ำ หรือใช้ผสมกับน้ำผึ้งรับประทาน (แกนต้น)[2],[4] ส่วนรากและลำต้นมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะปวดแสบปวดร้อน แก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ (รากและลำต้น)[3]
- ช่วยขับหนองใน (เมล็ด,น้ำมันจากเมล็ด)[1],[2],[4]
- ช่วยแก้มุตกิดตกขาวของสตรี (รากและลำต้น)[3]
- ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนของสตรี (ฐานรองดอก,ดอกและฝัก)[2],[3],[4] ใช้แก้อาการปวดท้องน้อยก่อนหรือระยะที่รอบเดือนมา ให้ใช้ฐานรองดอก 1 อัน กระเพาะหมู 1 อัน ใส่น้ำตาลทรายแดง 30 กรัม แล้วต้มกรองเอาแต่น้ำมารับประทาน (ฐานรองดอก)[4]
- ช่วยบีบมดลูก (ดอก)[4]
- ช่วยแก้เนื้องอกเยื่อบุผิวถุงน้ำคร่ำ (แกนต้น)[2]
- ช่วยแก้อาการมูกโลหิต ด้วยการใช้เมล็ด 30 กรัม ใส่น้ำตาลเล็กน้อย นำมาต้มกับน้ำประมาณ 60 นาที แล้วนำมาใช้ดื่ม (เมล็ด)[4]
- เมล็ดใช้เป็นยาบำรุงตับและไต (เมล็ด)[3]
- ช่วยแก้อาการบวมน้ำ (รากและลำต้น)[3]
- ใบใช้เป็นยารักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก (ใบ)[3]
- หากแผลที่มีเลือดไหล ให้ใช้แกนกลางของลำต้นนำมาโขลกให้ละเอียด แล้วนำมาใช้พอกบริเวณแผล (แกนต้น)[4]
- ใช้ทั้งต้นนำมาสกัดทำเป็นขี้ผึ้ง ใช้เป็นยารักษาแผลสดและแผลฟกช้ำ (ทั้งต้น)[3] ส่วนรากมีสรรพคุณช่วยแก้อาการฟกช้ำ (ราก)[1],[4]
- ช่วยแก้อีสุกอีใส (ดอกและฝัก)[3]
- ช่วยแก้ฝีฝักบัว (น้ำมันจากเมล็ด)[1],[4] แก้อาการปวดบวมฝี (ฐานรองดอก)[4]
- น้ำมันจากเมล็ดใช้เป็นยาแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ (น้ำมันจากเมล็ด)[1],[4]
- ใช้แก้ไขข้อกระดูกอักเสบ และฝี ด้วยการใช้ดอกทานตะวันสด[3] บ้างระบุว่าใช้ฐานรองดอก[4] ในปริมาณพอดี นำมาต้มเคี่ยวให้ข้นคล้ายกับขี้ผึ้งเหลว แล้วนำมาใช้พอกและทาบริเวณที่เป็น จากการรักษาในผู้ป่วยจำนวน 30 คน พบว่าได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ (ดอก)[3],[4]
- ดอกมีสรรพคุณช่วยทำให้หน้าตาสดใส ช่วยรักษาใบหน้าตึงบวม (ดอก)[4]
คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดทานตะวันอบแห้ง ต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 584 กิโลแคลอรี่ 29%
- คาร์โบไฮเดรต 20 กรัม 15%
- โปรตีน 20.78 กรัม 37%
- ไขมัน 51.46 กรัม 172%
- ใยอาหาร 8.6 กรัม 23%
- วิตามินเอ 50 หน่วยสากล 1.6%
- วิตามินบี1 1.480 มิลลิกรัม 123%
- วิตามินบี2 0.355 มิลลิกรัม 27%
- วิตามินบี3 8.335 มิลลิกรัม 52%
- วิตามินบี5 1.130 มิลลิกรัม 22%
- วิตามินบี6 1.345 มิลลิกรัม 103%
- วิตามินบี9 227 ไมโครกรัม 57%
- วิตามินซี 1.4 มิลลิกรัม 2%
- วิตามินอี 35.17 มิลลิกรัม 234%
- ธาตุแคลเซียม 78 มิลลิกรัม 8%
- ธาตุเหล็ก 5.25 มิลลิกรัม 63%
- ธาตุแมกนีเซียม 325 มิลลิกรัม 81%
- ธาตุแมงกานีส 1.950 มิลลิกรัม 85%
- ธาตุฟอสฟอรัส 660 มิลลิกรัม 94%
- ธาตุโพแทสเซียม 645 มิลลิกรัม 14%
- ธาตุโซเดียม 9 มิลลิกรัม 1%
- ธาตุสังกะสี 5.00 มิลลิกรัม 45%
- ธาตุทองแดง 1.800 มิลลิกรัม 200%
- ธาตุซีลีเนียม 53 ไมโครกรัม 96%
- % ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
วิธีการเก็บรักษา
- เก็บไว้ให้หางจากมือเด็ก
- เก็บไว้ให้หางจาก น้ำ ไฟ
- ไม่ควรเปิดปากถุงทิ้งไว้นานๆ
ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรทานตะวัน
- สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทาน[3]
หมายเหตุ
อิหร่านเป็นประเทศแรกในแง่ของการผลิตถั่วพิสตาเชียของมากกว่า55%ของเมล็ดถั่วพิสตาชิโอในโลกที่มีการผลิตในอิหร่านของพิสตาเชียเป็นนับเป็นหนึ่งที่ไม่มี- ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมซึ่งเป็นที่มีประสิทธิภาพในอิหร่าน& rsquo; กลยุทธ์ของเศรษฐกิจของ
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์