คำอธิบาย
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ชาอูหลง (Oolong Tea) (ชนิดใบ)
ชาอูหลง (ชามังกรดำ) เป็นชาที่มีถิ่นกำเนิดจากมณทลฟูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) มีเรื่องเล่าตามตำนานว่า ไร่ที่ปลูกชามีงูดำตัวเล็ก ที่ไม่ทำร้ายคน เลื้อยพันต้นชาอยู่เป็นจำนวนมาก เริ่มแรก ชาวไร่จึงเรียกชาชนิดนี้ว่า ชางูดำ แต่ด้วยความที่เกิดความรู้สึกจั๊กจี๋ กับคำว่า “งู” จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น ชามังกรดำ
ชาอูหลง นอกจากแหล่งกำเหนิดที่ มณฑลฟูเจี้ยนแล้ว ยังมีแหล่งผลิตใหญ่อีก ที่ เกาะไต้หวัน ซึ่งชาวไต้หวัน นั้นนิยมดื่มชาอูหลงมาก ถือว่าเป็นตลาดใหญ่ของชาอูหลงเลยทีเดียว ชาอูหลง ที่มีชื่อเสียงของเกาะไต้หวันคือ ต้งติ่งอูหลง ซึ่งเป็นชาอูหลงที่ปลูกบนภูเขาต้งติ่ง จึงนำชื่อภูเขามาตั้งเป็นชื่อชา ถ้าเปรียบเทียบกับกาแฟ คงจะเหมือนกันกับ กาแฟบลูเมาท์เท่น
ชาอูหลงเป็นชาหมักน้อย มีลักษณะอยู่ระหว่างชาเขียวกับชาแดง คือกลิ่นหอมนุ่มคล้ายน้ำผึ้ง ค่อนไปทางชาเขียว แต่รสเข้มค่อนไปทางชาแดง สีของชาอูหลง จะเป็น สีเหลืองอมเขียว ใส
ชาอูหลงไทย มีแหล่งผลิตอยู่บน ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย ซึ่งผลิตโดยทายาทของ อดีต กองพลที่93 ทหารจีนคณะชาติก๊กมินตั๋ง โดยการส่งเสริมของรัฐบาลไทย ในช่วงปี 2514 – 2523 ซึ่งได้รับองค์ความรู้จาก สถานีวิจัยใบชาแห่งไต้หวัน ส่วนพันธุ์ชาที่ปลูกเป็นหลักคือ พันธุ์จินซวน (Jin Xuan หรือ อูหลงเบอร์ 12) และ พันธุ์หยวนจือ (Ruan Zhi หรือ อูหลงก้านอ่อน หรือ อูหลงเบอร์ 17 )
สัณนิษฐานว่า เบอร์ของใบชาอูหลงนั้น เป็นเบอร์จากห้องวิจัย เช่นเดียวกันกับการวิจัยข้าวในประเทศไทย เช่น พันธุ์ข้าวเหนียว กข.6 , กข.10 หรือ พันธุ์ข้าวเจ้า กข.5 , กข.7 สาเหตุที่เรียกเบอร์แทนชื่อพันธุ์ชา คงให้ง่ายต่อการทำตลาด เพราะถ้าเรียกชื่อ อูหลงเบอร์ 12 , อูหลงเบอร์ 17 คงจะสะดวกและจำง่ายกว่าเรียก จินซวนอูหลง , หยวนจืออูหลง
ส่วนประกอบ
- ดอกเก๊กฮวย
สรรพคุณ
- สารจำพวก alcohol และ aldehyde มีกลิ่นหอมทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
- Caffein สารคาเฟอีน ช่วยกระตุ้นสมอง เพิ่มสมาธิ เพิ่มอัตราการเผาผลาญ ช่วยระบบหมุนเวียนโลหิต เพิ่มความดันโลหิต
- Theanine สารไทอะนีนเป็นกรดอะมิโนที่ทำให้ชามีรสกลมกล่อม ช่วยควบคุมการทำงานของสมองและลดความดันโลหิต
- ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันโรคหัวใจ
- ลดไตรกลีเซอไรด์และระดับน้ำตาลในเลือด
- ช่วยย่อยอาหาร บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย
- ลดการดูดซึมน้ำตาลและไขมันเข้าสู่กระแสเลือด หากรับประทานพร้อมมื้ออาหาร
วิธีรับประทาน
- อุ่นกาน้ำชา โดยใช้น้ำร้อนลวกภาชนะเพื่อให้กาน้ำชาและถ้วยชาอุ่นขึ้น ช่วยฆ่าเชื้อโรคและดับกลิ่นต่าง ๆ ในภาชนะ
- ใส่ใบชาลงไปในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่เกิน 1 ใน 3 ของกาน้ำชา
- เทน้ำร้อนลงในกาน้ำชาให้เต็ม เพื่อกระตุ้นใบชาให้คลี่ออก และช่วยล้างใบชาให้สะอาด แล้วเทน้ำทิ้ง
- เทน้ำร้อนเดือดใหม่ ๆ ลงในกาน้ำชาอีกครั้ง ทิ้งไว้ประมาณ 2 นาที
- เทน้ำชาลงในถ้วยเสิร์ฟให้หมด ยกเสิร์ฟ
- เมื่อต้องการดื่มชาเพิ่ม ให้เติมน้ำเดือดลงไปอีกครั้ง ทิ้งไว้ประมาณ 2 – 3 นาที แล้วจึงเทน้ำชาเสิร์ฟใหม่อีกครั้ง ใบชาที่ใช้ชงแต่ละครั้งสามารถใช้ได้ประมาณ 3 – 7 ครั้ง ในครั้งต่อ ๆ ไปหลังจากเติมน้ำร้อนเพิ่มแล้ว ควรทิ้งไว้นานกว่า 3 นาที และนานขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อไม่ให้น้ำชาจืด
วิธีการเก็บใบชา
- เก็บไว้ให้หางจากมือเด็ก
- เก็บไว้ให้หางจาก น้ำ ไฟ
- ไม่ควรแซ่น้ำไว้
หมายเหตุ
ชาอู่หลง (oolong tea) หรือชากึ่งหมักเป็น ชา (tea) ที่ผ่านการแปรรูปด้วยการผึ่งใบชาให้แห้งจนได้ที่ แล้วนำมานวดเพื่อให้ผิวนอกของใบช้ำ ซึ่งเป็นการกระตุ้นสารแทนนินที่อยู่ภายในให้เกิดปฏิกิริยาสีน้ำตาลที่เกี่ยวกับเอนไซม์ (enzymatic browning reaction) และปฏิกิริยาออกซิเดชัน กับออกซิเจน ทำให้ใบชามีสีเข้ม และมีรสฝาดขม จากนั้นนำไปหมัก ก่อนการทำแห้ง (dehydration)
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์